เมนู

สีมาจะอยู่ในโอกาสอันสงัดสุดท้ายวัดที่อยู่ด้วยประการใด พึงผูกด้วยประการนั้น
เถิด. ขัณฑสีมานั้นโดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดถ้าจุภิกษุได้ 21 รูป ใช้ได้. ย่อม
กว่านั้น ใช้ไม่ได้, ที่ใหญ่แม้จุภิกษุจำนวนพัน ก็ใช้ได้. เมื่อจะผูกขัณฑสีมา
นั้น พึงวางศิลาที่ควรเป็นนิมิตได้ไว้โดยรอบโรงที่จะผูกสีมา. อย่ายืนอยู่ใน
ขัณฑสีมา ผูกมหาสีมา, อย่ายืนอยู่ในมหาสีมา ผูกขัณฑสีมา. แต่ต้องยืนอยู่
เฉพาะในขัณฑสีมา ผูกขัณฑสีมา, ต้องยืนอยู่เฉพาะในมหาสีมา ผูกมหาสีมา.
อรรถกถาวิธีผูกมหาสีมา จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมา 2 ชั้น



ในสีมา 3 ชนิดนั้น มีวิธีผูก ดังต่อไป:-
พึงกำหนดนิมิตทั้งหลายโดยรอบอย่างนี้ว่า ศิลานั่น เป็นนิมิต แล้ว
ผูกสีมาด้วยกรรมวาจา. ลำดับนั้น พึงทำอวิปปวาสกรรมวาจาซ้ำลง เพื่อทำ
ขัณฑสีมานั้น แลให้มั่นคง. จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มา
ด้วยคิดว่า เราทั้งหลาย จักถอนสีมา จักไม่อาจถอน. ครั้นสมมติสีมาแล้ว
พึงวางศิลาหมาย สีมันตริกไว้ภายนอก. สีมันตริก ว่าโดยส่วนแคบที่สุด
ประมาณศอก 1 จึงควร. ในกุรุนทีแก้ว่า แม้ประมาณคืบ 1 ก็ควร ใน
มหาปัจจรีแก้ว่า แม้ประมาณ 4 นิ้วก็ควร. ก็ถ้าวัดที่อยู่ใหญ่ ควรผูกขัณฑสีมา
ไว้ 2 แห่งก็ได้ 3 แห่งก็ได้ เกินกว่านั้นก็ได้. ครั้นสมมติขัณฑสีมาอย่างนั้นแล้ว
ในเวลาจะสมมติมหาสีมา พึงออกจากขัณฑสีมา ยืนอยู่ในมหาสีมา กำหนด
ศิลาหมายสีมันตริก เดินวนไปโดยรอบ, ลำดับนั้น พึงกำหนดนิมิตทั้งหลาย
ที่เหลือแล้วอย่าละหัตถบาสกัน พึงสมมติสมานสังวาสกสีมาด้วยกรรมวาจาแล้ว
ทำอวิปปวาสกรรมวาจาด้วย เพื่อทำสมานสังวาสกสีมานั้นให้มั่นคง.

จริงอยู่ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายผู้มาด้วยคิดว่าเราทั้งหลาย
จักถอนสีมา จักไม่สามารถถอนได้. แต่ถ้ากำหนดนิมิตแห่งขัณฑสีมาแล้ว
ลำดับนั้น จึงกำหนดนิมิตที่สีมันตริกแล้วกำหนดนิมิตแห่งมหาสีมา. ครั้น
กำหนดนิมิตใน 3 สถานอย่างนี้แล้ว, ปรารถนาจะผูกสีมาใด. จะผูกสีมานั้น.
ก่อนก็ควร. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น. ก็ควรผูกตั้งต้นขัณฑสีมาไปโดยนัยตามที่
กล่าวแล้ว.
ก็บรรดาสีมาทั้งหลายที่สงฆ์ผูกอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้สถิตอยู่ใน
ขัณฑสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในมหาสีมา, หรือผู้
สถิตอยู่ในมหาสีมา ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้ทำกรรมในขัณฑสีมา
อนึ่งภิกษุผู้สถิตอยู่ในสีมันตริก ย่อมไม่ทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุทั้ง 2 พวก
แต่ภิกษุผู้สถิตในสีมันตริก ย่อมทำให้เสียกรรมของเหล่าภิกษุผู้สถิตในคามเขต
กระทำกรรม, จริงอยู่สีมันตริกย่อมควบถึงคามเขต.1

อรรถกถาวิธีผูกสีมา 2 ชั้น จบ

อรรถกถาวิธีผูกสีมาบนศิลาดาดเป็นต้น


อันที่จริง ธรรมดาสีมานั้น ซึ่งภิกษุสงฆ์ผูกแล้วบนพื้นแผ่นดินอย่าง
เดียวเท่านั้น จึงจัดว่าเป็นอันผูก หามิได้. โดยที่แท้ สีมาที่ภิกษุสงฆ์ผูกไว้บน
ศิลาดาดก็ดี ในเรือนคือกุฎีก็ดี ในกุฎีที่เร้นก็ดี ในปราสาทก็ดี บนยอดเขาก็ดี
จัดว่าเป็นอันผูกแล้วเหมือนกันทั้งนั้น.
ในสถานที่เหล่านั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายจะผูกบนศิลาดาด อย่าสกัดรอย
หรือขุดหลุมดังครก บนหลังศิลาทำให้เป็นนิมิต. ควรวางศิลาที่ได้ขนาดเป็น

1. ตามนัยโยชนาแปลว่า . . . ย่อมถึงความเป็นคามเขต.